หากเป็นการท่องเที่ยวชายทะเลแบบในสมัยก่อนนั้น อาจเป็นเพียงแค่ ไปนั่งเล่นกินนอน หรือเดินเล่นตามชายหาดแบบปกติเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยงที่ออกไปเที่ยวตามเกาะ และเล่นกีฬาทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็น เรือใบ กระดานโต้คลื่น เจ็ตสกี โดยเฉพาะการดำน้ำดูปะการัง ซึ่งการดำน้ำบนผิวน้ำ ที่ถูกเรียกว่า “สนอร์เกิลลิ่ง” หรือ “สกินไดวิ่ง” เหมาะสำหรับการชมประการังในน้ำตื้น โดยการใช้อุปกรณ์ดำน้ำ เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น เช่น หน้ากากดำน้ำ ท่อหายใจ ตีนกบ และชูชีพ ซึ่งราคาอุปกรณ์เหล่านี้ มีราคาที่ไม่แพง อีกทั้งหาซื้อได้ง่าย และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ สำหรับผู้ที่ยังว่ายน้ำไม่เป็น หรือยังว่ายไม่แข็งพอ ก็สามารถดำน้ำชมปะการังได้ เพียงแค่สวมเสื้อชูชีพ สามารถแหวกว่ายบนผิวน้ำได้อย่างเพลิดเพลิน
ทะเลไทยมีพื้นที่อันไพศาลมากกว่า 350,000 ตร.กม. ตั้งอยู่ในเขตที่เรียกว่า “อินโดแปซิฟิก” (Indo-Pacific) อันเป็นเขตที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ผลการสำรวจและศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ยืนยันว่าทะเลเขตนี้เป็นพื้นที่ที่มีอากาศและอุณหภูมิ ของน้ำ ทะเลพอเหมาะพอดี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากที่สุดในโลก ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้ได้แพร่เผ่าพันธุ์กระจายอยู่ในท้องทะเลทั้ง3ด้าน คือ อ่าวไทยตอนบนหรือชายทะเลแถบภาค ตะวันออก อ่าวไทยตอนล่างหรือชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันหรือทะเลไทยภาคใต้ฝั่งตะวันตก
โดยส่วนใหญ่แล้วนั้น ชายทะเล และเกาะแก่งที่อยู่ตามท้องทะเลในเมืองไทย จะอยู่ในความควบคุมดูแลจากกรมป่าไม้ ซึ่งได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอยู่ถึง 21 แห่ง แต่ก็ใช่ว่า ชายทะเล และเกาะทุกแห่งจะมีแนวปะการังเสมอไป อุทยานฯ ทางทะเลที่มีปะการังน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยนั้น ได้แก่ อุทยานฯลำน้ำกระบุรี จ.ระนอง อุทยานฯ เขาสามาร้อยยอด อุทยานฯ หาดวนกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ อุทยานฯ เขาหลัก-เขาลำรู่ อุทยานฯ น้ำตกธารเสด็จ จ.สุราษฎร์ธานี อุทยานฯเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อุทยานฯ ทะเลบัน จ.สตูล อุทยานฯ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ และอุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา
การจัดการ และ กฎกติกา ในการดำน้ำตื้น
- ควรปฎิบัติตามกฎระเบียบของพื้นที่อย่างเคร่งครัด เช่น ข้อห้ามต่าง ๆ ของอุทยานแห่งชาติทางทะเล เป็นต้น
- ควรเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับทั้งพืช และสัตว์มีพิษใต้ท้องทะเล ทั้งนี้ต้องรวมไปถึงวิธีป้องกัน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอีกด้วย
- ควรมีอุปกรณ์ดำน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การดำน้ำตื้น ควรมีชูชีพ หน้ากากดำน้ำ ตีนกบ และท่อหายใจ เป็นต้น
- ศึกษาหาความรู้เรื่องการดำน้ำตื้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะการได้เรียนรู้มากนั้น ย่อมนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตัวเรามากที่สุด ถูกต้อง และปลอดภัย แม้ว่าคุณจะมีความชำนาญในการว่ายน้ำ หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่ออยู่บนเรือ ควรใส่เสื้อชูชีพติดตัวตลอดเวลา เพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้าย ที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว
- ระหว่างขึ้นลงเรือ ต้องรอให้เรือจอดสนิท และขณะลงดำน้ำนั้น ต้องลงอย่างช้า ๆ เพราะบริเวณที่เราลงน้ำยังไม่คุ้นเคย เราอาจไปเหยียบปะการังได้
- หากจุดดำน้ำแห่งใหม่ ที่คุณไม่เคยลงดำน้ำมาก่อน ต้องค้นคว้าหาข้อมูลให้มากพอ เท่าที่จะทำได้ อาจสอบถามจากเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่ หรือคนในท้องถิ่น
ไม่ควรจับสิ่งมีชีวิตตามแนวปะการัง
โดยปกติแล้ว สิ่งมีชีวิตตามแนวปะการังจะไม่ทำร้ายมนุษย์ แต่ที่เราได้รับอันตรายในส่วนนั้น เป็นเพราะว่า คุณอาจจับ หรือถูกสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น หอยเม่นไม่มีทางที่จะลอยตัวมาไล่ตำเรา แต่ในบริเวณที่เราว่ายน้ำอยู่นั้น อาจตื้นจนเกินไป ดังนั้นเมื่อมีคลื่นซัดมาจนทำให้เราไม่สามารถทรงตัวได้ จึงต้องใช้เท้าเหยียบพื้นเพื่อทรงตัว แต่กลับเหยียบโดยหอยเม่นโดยไม่ได้ตั้งใจเป็นต้น
ดังนั้นคุณจึงควรประเมินขีดความสามารถของตัวเอง ว่ามีมากน้อยเพียงไร เพื่อที่จะได้ไม่ทำในสิ่งที่เกินกว่าร่างกายตัวเองจะรับได้ เช่น ดำน้ำห่างจากฝั่งเรือ เป็นระยะทางที่ไกลจนกว่าจะมีแรงว่ายกลับมาได้ หรือดำน้ำจนร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้า จนไม่มีแรงพอที่จะว่ายน้ำกลับเรือ เป็นต้น
ข้อห้าม เมื่อดำน้ำตื้น มีอะไรบ้าง ดังนี้
- ห้ามให้อาหารสัตว์น้ำ ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมของสัตว์ได้ อีกทั้งอาหารที่เราให้ไปนั้น อาจทำให้สัตว์น้ำเจ็บป่วยได้
- ห้ามจับสัตว์น้ำขึ้นมาเล่น เนื่องจากสัตว์บางชนิดมีความบอบบาง อาจตายได้ง่าย รวมไปถึงสัตว์น้ำบางชนิดมีพิษ อาจทำให้คุณได้รับอันตรายได้
- ระหว่างอยู่ในน้ำ ควรมองรอบ ๆ ตัว ทุก 5 – 10 นาที เพื่อปกกันตัวเราไม่ว่ายไปถูกพืช และสัตว์มีพิษใต้ท้องทะเล
- อย่าว่ายน้ำเข้ามาใกล้เรือ บริเวณหัวเรือ และท้ายเรือ เพราะหัวเรืออาจถูกคลื่นโยนตัว และกระแทกถูกคุณ จนได้รับบาดเจ็บได้ ในส่วนท้ายเรือ จะมีใบพัดซึ่งมีนักดำน้ำหลายท่าน ที่ต้องเสียชีวิตเพราะใบพัดเรือมาแล้ว
- ห้ามทิ้งขยะ และเศษอาหารลงในทะเล
- ห้ามเก็บปะการัง หรือทำการซื้อสิ่งของที่ระลึก ที่ทำจากปะการัง กระดองเต่า ปลาปักเป้าโคมไฟ เปลือกหอย รวมไปถึงสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เพื่อเป็นการช่วยอนุรักษ์แนวปะการังไว้ให้ยั่งยืน
ซื้อตั๋วเดินทางราคาถูก “ทั่วโลก” ได้ที่นี่ (เลือกพาหนะเดินทางได้ทุกประเภท)
พิมพ์ต้นทาง – ปลายทาง โดยสามารถพิมพ์เป็นภาษาไทยได้