รู้หรือไม่ แหล่งเพาะปลูก “บอนสี” จำนวนมหาศาลอยู่ที่ไหน

Exclusive เรื่องที่น่าสนใจล่าสุด

การทำตลาดเพื่อจำหน่ายบอนสีให้เป็นที่นิยมของลูกค้า ต้องหมั่นพัฒนาพันธุ์ด้วยการนำพ่อแม่พันธุ์ใหม่ๆ มาผสมพันธุ์อยู่เสมอเพื่อให้เกิดไม้ใหม่ ยิ่งภายในสวนมีลูกไม้ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ จะช่วยทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกซื้อมากขึ้น

ดังนั้น การทำตลาดบอนสีให้ประสบผลสำเร็จและติดตลาด ผู้ปลูกต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาพันธุ์ หมั่นเรียนรู้และผสมพันธุ์ลูกไม้ต่างๆ ตามจินตนาการของตัวเองอยู่เสมอ เมื่อได้ลูกไม้ใหม่ออกมาก็จะนำไม้ไปตั้งชื่อที่สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย

นั่นคือตลาดบอนสีก่อนเกิดกระแสการปั่นราคาในสื่อโซเชียลมีเดียยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทาง การสร้างตลาดที่ไปได้อย่างกว้างขวางมาก เพราะผู้ที่สนใจในบอนสีก็จะเข้ามาชมและเลือกซื้อบอนสีตามเพจต่างๆ ที่เกี่ยวกับบอนสีโดยเฉพาะ จึงทำให้ลูกค้าที่อยู่ห่างไกลก็สามารถเลือกซื้อไม้ในแบบที่ชอบ โดยทางสวนจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ถึงหน้าบ้านของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย

แหล่งเพาะปลูกบอนสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สำหรับแหล่งผลิตบอนสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์บอนสีจำหน่ายที่มีพื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่ ในทุกปีจะมีการจัดงาน คาลาเดียมเฟสติวัล(Caladium Festival) ที่รัฐฟลอริดา ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

นอกจากนี้ ประเทศศรีลังกาจะผลิตหัวบอนสี่ส่งขายให้กับสหรัฐอเมริกาในราคาถูก การผลิตบอนสีของประเทศสหรัฐอเมริกาและศรีลังกาจะผลิตโดยปลูกเป็นแปลงปลูกลงดินพื้นที่กว้าง แต่สายพันธุ์บอนสีของทั้ง 2 ประเทศยังมีน้อยกว่าประเทศไทยการผลิตบอนสีในต่างประเทศจะผลิตบอนสีเพื่อให้ได้หัวบอนสีที่แข็งแรงใช้เวลาประมาณ7 เดือน จึงขุดหัวขึ้นมาขาย

ส่วนแหล่งผลิตบอนสีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา คาดปริมาณการผลิตกว่า 3 แสนกระถางต่อปี

ตลาดบอนสีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตลาดจตุจักร, ตลาดสนามหลวง 2, ตลาดต้นไม้กาญจนาภิเษก, ตลาดมีนบุรี และตลาดกลุ่มเฟซบุ๊ก

ประวัติการนำเข้าบอนสี ในประเทศไทย

บอนสี ได้รับการยกย่องว่าเป็น ราชินีแห่งไม้ใบ (Queen of the Teary Plant) ในประเทศไทยนั้นมีบันทึกการนำเข้าบอนสีจากยุโรปมาในปี พ.ศ. 2425 พระยาวินิจอนันกร บันทึกว่าฝรั่งสั่งบอนสีเข้ามาปลูกบอนสีโบราณที่นิยมในยุคนั้นชื่อว่า “กระนกกระทา” และ “ถมยาประแป้ง”

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงนำบอนสีกลับเข้ามาปลูกในพระบรมมหาราชวัง สร้างความนิยมให้กับฝ่ายใน โดยยุคนั้นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียง คือ “บอนสีเจ้ากรุงไกเซอร์” และ “บอนสีเจ้ากรุงเดนมาร์ก”

ระวังกระแสการปั่นราคา “ไม้ใบด่าง – บอนสี”

ปัจจุบันกระแสราคาไม้ใบด่างและบอนสีที่พุ่งสูงปรี๊ด น่าจะเริ่มต้นจากกลุ่มคนมีชื่อเสียงมีเวลาว่างจากช่่วงโควิด-19 ระบาด หันมาปลูก มาสนใจไม้ใบด่าง ดาราดังๆหลายคน โพสต์รูปกับต้นไม้หลักร้อย พอเป็นกระแส ราคาปั่นกันเป็นหลักพัน ถึงหมื่น นานๆไปขยับมาที่ใบละหมื่น กระถางละหลายแสน จนถึงหลายล้านก็มี

ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ประดับ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ออกมาเตือนและแนะนำว่า อย่าด่วนตัดสินใจ เพราะไม้ใบใช้เวลาปลูก การเจริญเติบโตไม่นาน แต่วงการที่ขยับราคากัน แบบรายวันนั้น ไม่ยั่งยืน ซึ่งตามสื่อสังคมออนไลน์จะเห็น การโพสต์ขายรายชั่วโมง

ราคาที่เห็นแทบไม่น่าเชื่อว่าจะสูงขนาดนั้น สินค้าจะมีมูลค่าทางการตลาด ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด อย่าหลงเชื่อหรือตัดสิน จากรูปภาพ ที่เห็นตามสื่อสังคม มีการโพสต์โชว์ การซื้อขาย เงินเป็นฟ่อนๆ นับใบขายกัน ใบหลักหมื่น หลักแสน

ยกตัวอย่างต้นไม้ใบด่าง ไม่ว่าจะเป็นเสน่ห์จันทร์ดำด่าง ราคาในตลาดอยู่ที่กระถางละแสนกว่าบาท ในขณะที่มอนเสตอร่ามิ้นท์ นับใบขาย ใบละ 120,000 บาท บางกระถางมี 8-9 ใบ ราคาปาไปเป็นล้านบาทก็มีการซื้อขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์

กลไกตลาดแบบนี้ วูบไหวไม่ต่างจากกระแสต้นไม้ประเภท ไม้ล้อม ,ไม้บอนไซ, ชวนชม,ลีลาวีดี, โป๊ยเซียน หรือแม้แต่พืชผลเศรษฐกิจ ที่ทำเอามือใหม่,วงการเจ็บหนัก เสียเงิน,เสียเวลา มาหลายบทเรียน

ครั้งนี้ก็เช่นกันกระแสไม้ใบด่างบอนสีที่กำลังมาแรงนั้น กลไกตลาดแบบปั่นราคากันรายวัน ต้องระวัง ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ อย่าเสียรู้กลายเป็นแมงเม่าบินเข้ากองไฟ อีกไม่นาน ตลาดจะวาย

#ราคา บอนสี
#ชื่อบอนสีโบราณ
#บอนสีหายาก
#เช็ค ราคา บอนสี
#กลุ่มบอนสี
#บอนสีอิเหนา
#บอนสี ปลูกใน น้ำ
#บอนสี โบราณ ราคา

เครดิต https://www.mgronline.com/crime/detail/9640000098347


ค้นหาที่พักราคาถูก “ทั่วโลก” ได้ที่นี่ : สามารถพิมพ์ปลายทาง เป็นภาษาไทยได้




ซื้อตั๋วเดินทางราคาถูก “ทั่วโลก” ได้ที่นี่ (เลือกพาหนะเดินทางได้ทุกประเภท)
พิมพ์ต้นทาง – ปลายทาง โดยสามารถพิมพ์เป็นภาษาไทยได้

Powered by 12Go system
Booking.com